youtube

Leave a comment »

Augmented Reality

Augmented Reality (AR) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนารูปแบบ Human-Machine Interface ที่อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบเสมือนจริง (Virtual Reality) โดยที่วัตถุเสมือนนั้นๆ จะถูกสร้างมาผสมกับสภาพในโลกจริงในรูป 3D และแสดงผลแบบ real time

สังเกตหรือเปล่าว่าหนังสือที่เค้าถืออยู่ ของจริงมันจะเป็นกระดาษเรียบๆ แต่ใน monitor กลับเป็น Pop-up
โดยเทคโนยีนี้จะต้องประกอบด้วย 3 ระบบ คือ

-ระบบ tracking เช่น พวก Marker ต่างๆ กับกล้อง หรืออาจจะ sensor แบบอื่นๆ
-ระบบแสดงภาพ เช่น จอภาพนั่นแหละ
-ระบบประมวณผลเพื่อสร้างวัตถุ 3D เช่น ตัวโปรแกรมที่เราลงไว้ในคอมพิวเตอร์

โดยระบบ tracking(กล้อง) จะรับข้อมูล เข้าไป เช่น รูปแบบ ตำแหน่ง ทิศทางของ Marker(ตรา apple)
จากนั้นระบบประมวณผลก็จะนำไปแปลความหมายว่า Marker นี้ หมายถึงวัตถุอะไร อยู่ตรงไหน มีทิศอย่างไร
และเจ้าคอมพิวเตอร์ก็จะแสดงภาพวัตถุ 3D นั้นออกมาในรูปที่ผสมกับโลกจริงแต่ภาพที่เราเห็นจะเป็นมุมเดียวกับที่กล้องถ่ายไว้

โดยในขณะนี้ AR ถูกใช้อย่างกว้างขวางมาก (เพียงแต่เราไม่รู้ว่ามันเรียกว่าอะไรเท่านั้น)

ตัวอย่างใน youtube มากมาย

Maker รูปทรงวาดง่าย แค่ print maker ออก และมี webcam ก็พอ
ลองใช้วาด maker เอา (ไม่มี printer) ได้ผลดีเช่นเดียวกัน หรืออยากจะลองเป็นเครื่องดนตรีก็ที่นี่เลย ตัวอย่างเขาเล่นเป็น jingle bell แต่ทำตามไม่เป็น
อันนี้ Markers 8 อัน แปดโน๊ตเลย จะดัดแปลงเป็นเพลงอื่นก็ได้ หรือจะขั้น Pro กว่านั้น สร้างเองเลย ก็มีโปรแกรมให้ใช้เหมือนกัน อันนี้เขาแนะนำสำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์มากนัก
ชื่อโปรแกรม BuildAR


ที่มา http://www.youtube.com
http://www.google.co.th

Leave a comment »

บริบทของเว็บไซต์สำหรับการศึกษา

1.เว็บเพจแสดงข้อมูลสำคัญ (Vital information) ได้แก่ การติดต่อผู้สอนหรือผู้ช่วยสอน ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เวลาที่จะติดต่อแบบออนไลน์ได้ การเชื่อมโยงเว็บเพจการลงทะเบียน ใบรับรองการเรียนการเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจคำแนะนำ การเชื่อมโยงไปใช้ห้องสมุดเสมือน และการเชื่อมโยงไปยังนโยบายของสถานศึกษา

2.เว็บเพจแสดงบทบาทและความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง (Responsibilities) ได้แก่ สิ่งที่คาดหวังจากผู้เรียนตามรายวิชา กำหนดการสั่งงานที่ได้รับมอบหมาย วิธีการประเมินผลรายวิชา บทบาทหน้าที่ของผู้สอน ผู้ช่วยสอน และผู้สนับสนุน เป็นต้น

3.เว็บเพจกิจกรรมที่มอบหมายให้ทำการบ้าน (Assignment) ประกอบด้วยงานที่มอบหมาย หรืองานที่ผู้เรียนจะต้องทำในรายวิชาทั้งหมด กำหนดส่งงาน การเชื่อมโยงไปยัง กิจกรรมสำหรับเสริมการเรียน

4.เว็บเพจประกาศข่าว (Bulletin Board) สำหรับให้ผู้เรียนและผู้สอนใช้ในการ ประกาศข้อความต่างๆ ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนก็ได้

5.เว็บเพจทรัพยากรสนับสนุนการเรียน (Resources) แสดงรายชื่อแหล่งทรัพยากรสื่อ พร้อมการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ที่มีข้อมูล ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา

6.โฮมเพจ (Homepage) เป็นเว็บเพจแรกของเว็บไซต์ โฮมเพจควรมีเนื้อหาสั้นๆ เฉพาะที่จำเป็นที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา ซึ่งประกอบด้วย ชื่อรายวิชา ชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบรายวิชา สถานที่ โฮมเพจควรจะจบในหน้าจอเดียว ควรหลีกเลี่ยงที่จะใส่ภาพ กราฟิกใหญ่ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้เสียเวลาในการโหลดข้อมูลนาน

7.เว็บเพจแนะนำ (Introduction) แสดงสังเขปรายวิชาควรมีการเชื่อมโยงไปยังรายละเอียดที่ เกี่ยวข้องควรใส่ข้อความทักทายต้อนรับ รายชื่อผู้ที่เกี่ยวกับการสอนรายวิชานี้ พร้อมทั้งการเชื่อมโยงไปเว็บเพจที่อยู่ของผู้เกี่ยวข้องแต่ละคนและเชื่อมโยงไปยังรายละ เอียดของรายวิชา

8.เว็บเพจแสดงสิ่งจำเป็นในการเรียน (Course Requirements) เช่น หนังสือประกอบ บทเรียนคอมพิวเตอร์ ทรัพยากรการศึกษาในเครือข่าย (Online Resources) เครื่องมือต่างๆ ทั้ง ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โปรแกรมอ่านเว็บที่ที่จำเป็นต้องใช้ในการเรียน ทางอินเทอร์เน็ตโดยใช้เว็บเพจ

9.เว็บเพจการอภิปราย (Discussion) สำหรับการสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สอบถามปัญหาการเรียนระหว่างผู้เรียนและระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบสื่อสารแบบนัดหมายเวลา (Synchronous Communication) คือติดต่อสื่อสารพร้อมกันตามเวลาจริง และสื่อสารแบบไม่นัดหมายเวลา (Asynchronous Communication) ผู้เรียนส่งคำถามเข้าไปในเว็บเพจและผู้ที่จะ ตอบคำถามหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจะมาพิมพ์ข้อความเมื่อมีเวลาว่าง

10. เว็บเพจคำถามคำตอบที่พบบ่อย (FAQ Pages) แสดงคำถามและคำตอบเกี่ยวกับรายวิชา โปรแกรมการเรียน สถาบันการศึกษา และเรื่องที่เกี่ยวข้อง
เว็บเพจแสดงคำแนะนำในการเรียนรายวิชา คำแนะนำในการออกแบบเว็บไซต์ ของรายวิชา

Leave a comment »

นาฎศิลป์

Leave a comment »

การแต่งกายของนาฎศิลป์

การแต่งกายนาฏศิลป์ไทย การแสดงนาฏศิลป์ไทย ทั้งโขนและละครนั้นได้จำแนกผู้แสดงออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะของบทบาทและการฝึกหัดคือ ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์และตัวลิง ซึ่งในแต่ละตัวละครนั้น นอกจากบุคลิกลักษณะที่ถ่ายทอดออกมาให้ผู้ชมทราบจากการแสดงแล้ว เครื่องแต่งการของผู้แสดงก็ยังเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า ผู้นั้นรับบทบาทแสดงเป็นตัวใด เครื่องแต่งการนาฏศิลป์ไทยมีความวดวามและกรรมวิธีการประดิษฐ์ที่วิจิตรบรรจงเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะที่มาของเครื่องแต่งกายนาฎศิลป์ไทยนั้น จำลองแบบมาจากเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์(เครื่องต้น) แล้วนำมาพัฒนาให้เหมาะสมต่อการแสดง ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ฝ่าย ดังนี้ 1. เครื่องแต่งตัวพระ คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงหรือผู้รำที่แสดงเป็นผู้ชายประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกายดังนี้

 man_dress

2.    เครื่องแต่งตัวนาง คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงหรือผู้รำที่แสดงเป็นหญิงประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกายดังนี้

woman_dress

สำหรับเครื่องแต่งตัวพระและนางดังกล่าวนี้ จะใช้แต่งกายสำหรับผู้ระบำมาตราฐาน เช่น ระบำสี่บท ระบำพรหมาสตร์และระบำกฤดาภินิหาร เป็นต้น และยังใช้แต่งกายสำหรับตัวละครในการแสดงละครนอกและละครในด้วย ส่วนในระบำเบ็ดเตล็ด เช่น ระบำนพรัตน์ ระบำตรีลีลา ระบำไตรภาคี ระบำไกรลาสสำเริง ระบำโบราณคดีชุดต่าง ๆ หรือระบำสัตว์ต่าง ๆ จะใช้เครื่องแต่งกายตามความเหมาะสมกับการแสดงนั้น ๆ เช่น นุ่งโจงกระเบน ห่มผ้าสไบ และสวมชุดไทยต่าง ๆ เป็นต้น ตลอดจนยังมีการแสดงหรือการฟ้อนรำแบบพื้นเมืองของท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นด้วย

3.    เครื่องแต่งตัวยักษ์ (ทศกัณฐ์ ) คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงเป้นตัวยักษ์ประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกาย

dress_yak

4.    เครื่องแต่งตัวลิง (หนุมาน) คือเเครื่องแต่งกายของผู้แสดงเป้นตัวลิงประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกายดังนี้

monkey_dress

Leave a comment »

ความรู้สึกการเป็นนิสิตใหม่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ให้นิสิตบอกถึงความรู้สึกเมื่อก้าวเข้ามาเรียนในรั้วนนทรีว่ารู้สึกอย่างไรบ้างกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่เมื่อต้องเปลี่ยนตัวเองจากการเรียนมัธยมมาสู้การเรียนในระดับมหาวิทยาลัย

Leave a comment »

Hello world!

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!

Comments (1) »